**พระกรรมฐานสาย ลป.ชอบ ลป.คำดี ลป.หลุย และครูบาอาจารย์สายต่างๆ**//

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Lo_olLo, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. Lo_olLo

    Lo_olLo เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,969
    ค่าพลัง:
    +12,499
    วิชาธาตุกรณีย์
    จะ ภะ กะ สะ
    *********************

    (เล่าสู่กันฟังครับ เผื่อขอ อ.บุญเลิศสร้างพระสูตรนี้
    แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ขอนะครับ)

    41dd53a03351dd2c.jpg
    พระพิมพ์มารวิชัย จะภะกะสะ
    สร้างในสมัยพระเมืองแก้วกษัตริย์ล้านนา

    ......คาถา จะ ภะ กะ สะ (บางท่านเรียกธาตุพระกรณีย์) ปรากฏในจารึกคาถาหัวใจพระสูตร ซึ่งจารึกด้วยอักษรล้านนาเป็นภาษาบาลี พบครั้งแรกที่วัดส้มสุกจังหวัดเชียงใหม่ บนพระพิมพ์มารวิชัย คาดว่าสร้างในสมัยพระเมืองแก้วกษัตริย์ล้านนา ราวๆ พ.ศ.2038 และค้นพบอีกครั้งบนแผ่นทองคำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 พบที่จังหวัดสุโขทัย คาถาบทนี้เรียกว่า คาถากาสลัก หรือหัวใจคาถากาสลัก คือ จะ ภะ กะ สะ โดยจารึกดังกล่าวเป็นคำย่อมาจากคำสอนพระพุทธเจ้าเรื่อง "มงคลสูตร" โดยในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะ รจนาโดยพระรัตนปัญญามหาเถระผู้พำนักอยู่วัดป่าแดง เมืองนัพพีสี (เชียงใหม่) ได้ขยายความไว้หัวใจมงคลสูตรนี้ มีหัวใจคาถาตามพระบาลีว่า

    จะ ย่อมาจาก จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง จงหลีกเลี่ยงการคบคนพาล
    ภะ ย่อมาจาก ภะชะ สาธุสะมาคะมัง จงคบหาสมาคมกับคนดี
    กะ ย่อมาจาก กะระ ปุญฺญมะโหรัตตัง จงทำความดีทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจ
    สะ ย่อมาจาก สะระ นิจจะมะนิจจะตัง จงระลึกถึงความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของสิ่งทั้งปวงตามธรรมชามติ

    *************************************

    thumbnail_FB_IMG_1751864960066.jpg
    ...วันนี้ครับ 7/7/2568 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าพบท่านอาจารย์บุญเลิศ ที่สำนักงานบ้านพักของท่านที่ อ.ภูเรือ ซึ่งตอนที่ผู้เขียนไปถึง ท่านกำลังให้คณะลูกศิษย์ลูกหาของท่าน(เข้าใจว่าหน้าจะทำงานที่กรมศิลปากร) ตรวจสอบและชำระหนังสือคัมภีร์ใบลานต่างๆของท่าน ที่ท่านเก็บสะสมไว้ที่ได้รับสืบทอดมาจากครูบาอาจารย์ ในระหว่างที่ท่านปล่อยให้ลูกศิษย์ลูกหาท่านตรวจสอบคำภีร์อยู่นั้น ท่านก็หันมาคุยกับผู้เขียนครับว่า "ตำราบางเล่มนี้อายุมากกว่า 200 ปีนะสมัยอยุธยาโน่นเลย"
    FB_IMG_1751864972538.jpg

    1118.jpg
    ....แล้วสักพักท่านอาจารย์บุญเลิศก็หยิบ "บันทึกเล่มหนึ่งที่ท่านได้คัดลอกถอดมาจากคัมภีร์ใบลานอีกที" ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านว่า "ที่ท่านบันทึกไว้นี้เรียกยันต์อะไรครับ" ท่านบอกว่า "ยันต์กาสลัก" แต่สมัยต่อมาครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า "คาถาธาตุกรณีย์" นั้นแหละ อันเดียวกัน

    ....ผู้เขียนเรียนสอบถามท่านต่อครับว่า "แล้วแปลว่าอะไรครับ" ท่านกรุณาอธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า "คาถานี้แต่งเป็นกลบท แต่ละบทขึ้นต้นด้วย 2 พยางค์ เสียงสั้นซ้ำกัน 2 ครั้ง เหมือนกาใช้ปากจิกอย่างว่องไวลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าคิดไม่ออกให้คิดถึงเครื่องพิมพ์ดีดนั้นแหละ เหมือนกิริยาปากของอีกาจิกลงไปเป็นอย่างเดียวกับที่เราใช้ปากกาเขียนหนังสือ คือ “สัก” ลงไป นั่นคือ “กาสัก” แล้วแผลงเป็น “กาสลัก” เป็นคำๆ

    ....ส่วนที่เวลาต่อมาครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า ธาตุกรณีย์ ก็เพราะท่านเห็นว่าคำว่า "กรณีย์" ในภาษาไทยแปลว่า "สิ่งอันควรทำ" ท่านเอาความหมายว่า "ถ้าใครอยากเจริญ ต้องเลิกคบคนไม่ดี(จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง) และคบหาแต่คนดี(ภะชะ สาธุสะมาคะมัง) ให้หมั่นทำแต่ความดีทั้งหลาย(กะระ ปุญฺญมะโหรัตตัง) และ พึงระลึกถึงความไม่ประมาทอยู่เสมอ(สะระ นิจจะมะนิจจะตัง) คือครูบาอาจารย์ท่านให้ชื่อตาม อุบายทางธรรมนั้นละ..."



    1.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า-กรมหลวงวชิรญาณวงศ์-696x932.jpg
    สมเด็จกรมวชิรญาณวงศ์(พระสังฆราชองค์ที่13)
    ....ผู้เขียนขออนุญาตถามท่านต่อครับว่า "แล้วคาถานี้ในทางเคล็ดวิชาท่านน้อมพลังงานมาใช้ทางใดบ้างครับ"

    ....ท่านอาจารย์บุญเลิศตอบว่า... "โอ้ว คาถานี้ดี108 นะ สมเด็จกรมวชิรญาณวงศ์(พระสังฆราชองค์ที่13) ตอนหม่อมคึกฤทธิ์(มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) ไปขอคาถาดีกับท่าน ท่านก็ให้คาถานี้แหละ
    จะภะกะสะ ท่านว่า ตัวท่านเองก็ท่องเป็นประจำเกิดปาฏิหารย์มาแล้วหลายต่อหลายครั้งเป็นที่ประจัก สมเด็จวชิรญาณวงศ์ท่านยังย้ำอีกว่า คำที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วศักดิ์สิทธิ์ทุกคำ ผู้นำไปปฏิบัติก็เจริญจนถึงมรรคผลนิพพาน แม้นำมาสวดท่องก็มีปาฏิหารย์มีคุณวิเศษ..."


    503768737_3093345450869868_4626358723181527791_n.jpg
    ....คุยไปสักพัก ท่านอาจารย์บุญเลิศก็หันไปหยิบสมุดลายไทยที่ท่านจดไว้ แล้วเล่าต่อให้ฟังครับว่า "นี้ ยันต์ จะภะกะสะ แบบเต็มที่ผม(อ.บุญเลิศ) คัดลอกแล้วสืบต่อวิชาจนครบ เพราะตำราเดิมเป็นอักษรล้านนา และอักษรธรรมลาว(ธรรมอีสาน) ที่หายไปทำให้คาถาเต็มขาดๆเขินๆ ผมไปสืบจากครูบาอาจารย์จนครบ ทั้งไปสอบทานกับหลวงพ่อชอบ วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี(หลวงพ่อชอบ อนุจารี) เพราะท่านแต่งและค้นคว้าเรื่องคาถากาสลักไว้ ผมเคยไปสอบทานกับท่านตั้งแต่ปี2528 ท่านให้ระเบียบบาลีมา ผมก็เอามาประติดประต่อกับใบลานเดิมที่เป็นอักขระธรรมอีสานและอักขระล้านนา จนมั่นใจว่าสมบูรณ์พอสมควรแล้ว..."

    ....ด้วยว่าเป็นของดี ผู้เขียนจึงขออนุญาตท่าน บันทึกภาพยันต์ได้หรือไม่ กลัวจะมีคนเอาไปใช้ต่อไหม? ท่าน(อ.บุญเลิศ) บอกว่า
    "นำไปลงเป็นวิทยาทานได้ ส่วนคนจะเอาไปใช้ต่อ ก็ได้ไปแค่ตัวยันต์คาถาเสกไม่ได้ไปหรอก ฮ่าๆ(ท่านหัวเราะ) จะลงมันต้องมีตัวเสก ตัวเสกเขาไม่บอกกันง่ายๆตัวยันต์ใครเขียนก็ได้ นี้ยันต์นี้ของโบราณเลยนะผมใช้อักษรดั้งเดิม คือ อักษรธรรมอีสานมาเขียนเลย..."


    thumbnail_20250707_123536.jpg
    ...ตรงนี้ท่าน อ.บุญเลิศ กรุณาอธิบายคุณวิเศษ(อุปเท่ห์) ตามเคล็ดของยันต์ให้ฟังครับว่า

    จะ ย่อมาจาก จะชะ ทุชชะนะสังสัคคัง จงหลีกเลี่ยงการคบคนพาล(ท่านว่าเคล็ดพลังงานคุณวิเศษ คือ ช่วยหลีกเลี่ยงจากสิ่งไม่ดีทั้งปวง ไปไหนมาไหนแคล้วคลาดปล่อยภัยจากสิ่งไม่ดี ศัตรูหมู่มารไม่อาจทำร้ายได้)

    ภะ ย่อมาจาก ภะชะ สาธุสะมาคะมัง จงคบหาสมาคมกับคนดี(ท่านว่าเคล็ดพลังงานคุณวิเศษ คือ พบเจอแต่สิ่งที่ดี จะทำกิจการงานใดก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่มีอุปสรรค)

    กะ ย่อมาจาก กะระ ปุญฺญมะโหรัตตัง จงทำความดีทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจ(คำว่าปุญญะคำนี้ หมายถึง ประโยชน์,การให้ทาน ครูบาอาจารย์ท่านให้น้อมไปในเรื่องของ จาคะ คือการเสียสละเป็นประโยชน์ เมื่อมีการให้ย้อมมีอานิสงส์ เรื่องลาภสักการระเกิดขึ้น ดังนั้นจึงหมายถึง มีลาภมีทรัพย์มากนั้นเอง(แต่ทั้งนี้อุบายคือการรู้จักให้ทาน ทำประโยชน์เป็นสำคัญ)....)

    สะ ย่อมาจาก สะระ นิจจะมะนิจจะตัง จงระลึกถึงความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของสิ่งทั้งปวงตามธรรมชามติ(ท่านว่าเคล็ดพลังงานคุณวิเศษ คือ ให้อยู่ในความไม่ประมาท คำว่า นิจจะ หรือ นิจจัง นี้ ท่านหมายเอาความไม่เที่ยง เพราะเวลาลงวิชา ท่านจะต้องท่องปิดท้ายบทว่า "ทุกขัง อนิจจัง อนันตา" ความหมายคือ เมื่อเกิดทุกข์ไม่ว่าทุกข์กายหรือทุกข์ใจ ทุกข์นั้นย้อมอยู่ไม่นาน และย้อมหายไปด้วยอำนาจแห่งอนิจจัง(ไม่เที่ยง) อีกนัยยะหนึ่ง คือ ให้พึงระลึกถึงความไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย้อมเป็นผู้ห่างจากความตาย(อัปปมาโท อะมะตัง ปะทัง "ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย") ดังนั้น ด้วยเคล็ดนี้ผู้มียันต์ ย้อมไม่ตายโหงจากอันตรายทั้งปวง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2025 at 23:31

แชร์หน้านี้

Loading...